LINE : @88service
LOGIN UFABET

UFABET Article : นักบอลไทย ต้อง “จมให้ลง” และ “อยู่ให้เป็น”!!!

หลังจากจบฤดูกาลฟุตบอลสโมสรของไทยในปี 2019 ในฐานะที่เป็นผู้สื่อข่าว ดูเหมือนว่าข่าวในช่วงหลังจบฤดูกาล จะมีอะไรที่น่าติดตาม และสนุกกว่าในช่วงระหว่างฤดูกาลแข่งขันเสียอีก

เพราะหลังจากจบฤดูกาล ก็ต้องมาลุ้นว่า ทีมใดจะอยู่ และทีมใดจะยุบทีม พักทีม ขายสิทธิ์การทำทีมกันบ้าง เป็นข่าวที่ทำให้แฟนบอลแต่ละสโมสร หัวใจเต้นแทบจะไม่เป็นจังหวะ

นับตั้งแต่ฤดูกาล 2019 ที่รูดม่านปิดฉากลงไปตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ก็มีทีมที่ล้มหายตายจากสารบบฟุตบอลไทยไปแล้วหลายทีม เริ่มตั้งแต่ “พีทีที ระยอง” ต่อด้วย “ไทยฮอนด้า เอฟซี” และล่าสุด สดๆ ร้อนๆ เมื่อวานนี้ นั่นคือ “อาร์มี่ ยูไนเต็ด”

นั่นหมายความว่า นับตั้งแต่ฤดูกาลนี้สิ้นสุดลงไป มีทีมที่หายไปแล้วทั้งสิ้น 3 ทีมด้วยกัน และมีข่าวตามมาอีกว่า ทีมที่จะมีการยุบ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้

นับตั้งแต่ปี 2009 ที่ทางสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย หรือ AFC ได้มีข้อกำหนดให้ทุกสโมสรมีการเปลี่ยนแปลงสถานะให้เป็นบริษัทนิติบุคคล ไม่อิงกับหน่วยงานใดเพื่อความเป็นมืออาชีพที่มากขึ้น

และข้อกำหนดนี้เอง ที่ทำให้หลายสโมสรที่เป็นทีมองค์กรในประเทศไทย ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ ต้องล้มหายตายจากไป ยกตัวอย่างเช่นทีมที่มาจากธนาคาร อย่าง ธนาคารกรุงเทพ(ยุบ) , ธนาคารกรุงไทย(เปลี่ยนเป็น “บางกอกกล๊าส”) เป็นต้น เนื่องจากกฏของธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถก่อตั้งบริษัทนิติบุคคลได้

หลังจากนั้น สโมสรฟุตบอลในไทยก็เริ่มทำให้เป็นนิติบุคคลตามข้อกำหนดของ AFC  ซึ่งก็มีทีมองค์กรบางทีมที่รับภาระไม่ไหว และองค์กรเหล่านั้น ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการทำฟุตบอลเป็นหลัก จึงตัดสินใจที่จะพักทีมหรือยุบทีมไป และหายไปจากวงการไปโดยปริยาย เช่น “ทีโอที เอสซี”

จนมาถึงปี 2019 ที่กลายเป็นปีที่น่าจะวุ่นวายที่สุดเลยก็ว่าได้ หลังจากมี 3 ทีมข้างต้น ที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ตัดสินใจที่จะยุบทีม ไม่ส่งทีมแข่งขันต่อ ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่า “เกิดอะไรขึ้นกับฟุตบอลไทย?!”

ในปีนี้ พ.ศ.นี้ อย่างที่เราทราบกันถึงภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างฝืดเคืองกันไปทุกหย่อมหญ้า แน่นอนว่ามันส่งผลกระทบถึงวงการฟุตบอลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัญหาดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ภาระค่าใช้จ่ายของสโมสรที่สูงขึ้นทุกปีๆ บางสโมสรมีรายจ่ายต่อเดือนสูงถึงเดือนละหลายล้านบาท บางสโมสรมากถึงหลักสิบล้านบาท

บวกกับสโมสรหลายสโมสร ที่ผลงานอาจจะไม่ได้ดีเด่น อยู่อันดับค่อนล่างของตารางคะแนน ซึ่งก็มีภาระค่าใช้จ่ายมากไม่ต่างกับทีมใหญ่ แต่ด้วยผลงานของทีม ทำให้จำนวนของแฟนบอลที่เข้าชมในสนามน้อยลง หมายความว่ารายได้ของสโมสรนั้นจะน้อยลงตามไปด้วย

รายได้ของสโมสรฟุตบอล มีเพียงแค่ 3 ทาง คือ 1.สปอนเซอร์ 2.ค่าบัตรเข้าชม 3.สินค้าที่ระลึก(เสื้อแข่ง,ผ้าพันคอ ฯลฯ) แต่ถ้ารายได้ของทางที่ 2 ลดลง แน่นอนว่ามีผลกระทบต่อทางที่ 1 และ 3 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หลายฤดูกาลที่ผ่านมา หลายสโมสรประสบปัญหาแฟนบอลที่เข้าชมในสนามน้อยลง เนื่องด้วยหลายปัจจัยทั้งผลงานทีมที่ตกลง และปัญหาเศรษฐกิจที่ทุกคนต้องรัดเข็มขัด ใช้จ่ายอย่างประหยัด ทำให้ไปดูฟุตบอลได้จากเดิมเดือนละ 4-5 นัด อาจจะเหลือเพียง 2-3 นัด หรือเพียงนัดเดียว และบางสโมสร มีจำนวนแฟนบอลที่ค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว ทำให้สปอนเซอร์หลักอาจจะมองว่าไม่คุ้มที่จะมาสนับสนุน ทำให้มีการตัดลดงบสนับสนุน และบางรายอาจถอนตัวออกไป ไม่สนับสนุนทีมต่อ

ปัญหามาถึงเรื่องของสินค้าที่ระลึก บางสโมสรสั่งสินค้าที่ระลึกมาจำหน่ายน้อยลง เนื่องจากไม่มีแฟนบอลมาซื้อ และแฟนบอลหลายคนไม่อยากที่จะซื้อเสื้อในราคาเต็ม เนื่องจากมีกำลังทรัพย์ไม่พอ จึงต้องรอช่วงปลายฤดูกาลที่จะมีการลดราคา ซึ่งช่วงลดราคาทางสโมสรก็ไม่ได้รายได้จากส่วนนี้มากนัก

และปัญหาเรื่องรายได้ที่น้อยลงของสโมสร  บวกกับค่าใช้จ่ายที่นับวันจะมากขึ้นทุกวัน จึงเกิดคำว่า “ขาดทุน” ขึ้น ซึ่งทุกสโมสรในประเทศไทยในปัจจุบันนี้ บริหารแบบขาดทุนเกือบทุกสโมสร เจ้าของสโมสรต้องควักเนื้อเองแทบทั้งนั้น แทบไม่มีทีมไหนที่จะได้กำไรเลย

ปัญหาขาดทุนของสโมสรที่เกิดขึ้น จึงลามมาสู่ข่าว “ค้างเงินเดือน” นักฟุตบอล และสตาฟฟ์โค้ช เกิดขึ้น ถ้าสโมสรเหล่านั้น บริหารสภาพคล่องทางการเงินไม่ดีพอ

ฟุตบอลไทยในยุคนี้ พ.ศ. นี้ แฟนบอลหลายคนมีคำถามว่า “ฟองสบู่ในวงการฟุตบอลไทย แตกแล้วหรือไม่”

ถ้าถามผู้เขียน ผมขอตอบว่า “ยังไม่แตก แต่ก็มันก็มีรอยปริ ใกล้แตกเต็มทีแล้ว” ซึ่งเหตุการณ์ยุบทีมของทั้ง 3 ทีมที่ผ่านมา คงเป็นคำตอบได้อย่างดี ไม่นับทีมที่มีข่าวความไม่แน่นอนออกมาอีกหลายต่อหลายทีม

สัญญาณของฟองสบู่ในวงการ เริ่มตั้งแต่เงินเดือนของนักฟุตบอล ที่บางสโมสรจ่ายเงินในเพดานเงินเดือนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเพดานเงินเดือนที่สูงนั่นเอง เพดานนั้นจึงเป็นบรรทัดฐานใหม่เวลาที่นักฟุตบอลย้ายทีม ซึ่งบางทีมก็ต้องยอมจ่าย ถ้าอยากได้นักฟุตบอลคนนั้นมาจริงๆ

นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา ตั้งแต่ที่ฟุตบอลไทยเริ่มก้าวเข้าสู่ความเป็นมืออาชีพ เพดานเงินเดือนของนักฟุตบอลไทย ที่แต่เดิมได้เพียง 10,000-15,000 บาท/เดือน แต่ในวันนี้ เงินเดือนพื้นฐานของนักฟุตบอลในระดับไทยลีก เริ่มที่ 80,000-100,000 บาท/เดือน เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าตัว และค่าใช้จ่ายในการเซ็นสัญญา จากเดิมที่ได้กันเพียงหลักหมื่น แต่ปัจจุบัน มูลค่าในการเซ็นสัญญาค้าแข้งเพียงฉบับเดียว แทบจะซื้อบ้านซื้อรถกันได้เลย

ในภาวะที่เศรษฐกิจเป็นแบบนี้ ผู้เขียนอยากจะเตือนว่า ปัจจุบันสโมสรฟุตบอลในไทย ไม่สามารถที่จะควักกระเป๋าจ่ายหนักแบบนั้นได้อีกแล้ว ถึงเวลาที่นักฟุตบอลอาชีพของไทย ต้อง “จมให้ลง” เหมือนที่พี่บับเบิ้ล ยิ่งรักษ์ บอกเสียที และ “อยู่ให้เป็น” รับให้ได้กับเงินที่น้อยลง หารายได้เสริมมาช่วยจุนเจือรายได้

ผมเชื่อว่า ถ้าฟุตบอลอาชีพของไทย ทำความเข้าใจกันทุกฝ่าย ลดเพดานเงินลงมาสักหน่อย (แม้จะยากก็ตาม) ผมเชื่อว่า ฟุตบอลไทย ไปกันรอดแน่นอน


Ufabet แทงบอล ออนไลน์ เงินชัวร์ 24 ชั่วโมง

ฝากกด Follow Twitter ของพวกเรา >>> Twitter @NewsUfadb

ฝากกด Like Page Facebook >>> Facebook Soccersig


Cr. ภาพ : Army Utd