LINE : @88service
LOGIN UFABET

ไขข้อข้องใจการใช้ VAR (Video Assistant Referee) กับ “เปาโค้ช”

เดือนมีนาคมนี้ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) จะมีการประชุมครั้งสำคัญเพื่อลงมติว่าจะมีการใช้ VAR (Video Assistant Referee) เข้ามาช่วยการตัดสินฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย หรือไม่ แม้ว่าก่อนหน้านี้ จานนี อินฟานติโน ประธานฟีฟ่าออกมาประกาศยืนยันว่า จะให้ใช้ VAR แล้วก็ตาม

หากผ่านมติในที่ประชุมครั้งนี้จะถือเป็นหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของวงการลูกหนังโลก ที่จะเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีเข้ามาช่วยตัดสินในเกมฟุตบอลอย่างเป็นทางการ

การตัดสินผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่าของผู้ตัดสินในอดีตที่ผ่านมา เป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันมาโดยตลอด และสิ่งเหล่านี้มักถูกลืมไปด้วยคำว่า “เสน่ห์ของฟุตบอล” แต่ความเบื่อหน่ายกับเรื่องเหล่านี้ ก็ทำให้หลายประเทศมีการทดลองใช้เทคโนโลยี VAR เข้ามาช่วยในการตัดสินในเกมฟุตบอลบ้างแล้ว

ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันเป็นอย่างมาก ฝั่งที่เห็นด้วยต่างก็ยกข้อดีออกมา ส่วนฝั่งที่ไม่เห็นด้วยก็จะยกข้อเสียออกมาโจมตีฝั่งที่เห็นต่าง แต่ถ้ามองกันในเรื่องของความเป็นจริง กีฬาอื่นอย่าง อเมริกันฟุตบอล, บาสเก็ตบอล หรือ เทนนิส ก็ได้ใช้เทคโนโลยี เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการตัดสินชี้ขาดกับผลการแข่งขันนานแล้ว

ในวงการฟุตบอล VAR (Video Assistant Referee) ถูกใช้งานครั้งแรกในเกม USL ลีกอาชีพระดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ระหว่าง นิวยอร์ค เรดบูลส์ และ ออร์แลนโด ซิตี้ บี หลังจากนั้นก็มีการทดลองใช้กันมากขึ้น ก่อนที่จะมีการใช้อย่างเป็นทางการในทัวร์นาเม้นต์ฟุตบอล ฟีฟ่า คอนเฟเดอเรชันส์ คัพ 2017 ที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีการทดลองใช้งานอย่างแพร่หลาย จนล่าสุดประเทศไทยก็ได้มีการทดลองใช้เป็นครั้งแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การประชุมสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ได้มีการหารือเกี่ยวกับ การนำเทคโนโลยี VAR  มาใช้ในศึกโตโยต้า ไทยลีก 2018 โดย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฯ ต้องการให้มีการใช้ วีดีโอช่วยตัดสิน เกิดขึ้นในการแข่งขันฟุตบอลลีกเมืองไทย เพื่อลดความผิดพลาดในการทำหน้าที่ของผู้ตัดสิน ก่อนมีข้อสรุปให้มีการทดลองใช้ระบบ VAR ครั้งแรกในเมืองไทยในเกมฟุตบอล ออมสิน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนส์ คัพ 2018 ระหว่าง “ปราสาทสายฟ้า” บุรีรัมย์​ ยูไนเต็ด แชมป์โตโยต้าไทยลีก 2017 กับ “กว่างโซ้งมหาภัย” เชียงราย ยูไนเต็ด แชมป์ช้าง เอฟเอ คัพ 2017

“เปาโค้ช” ศิวกร ภูอุดม คือผู้ตัดสินคนแรกของเมืองไทย ที่ได้รับเกียรติทำหน้าที่ตัดสิน โดยมี VAR  เป็นตัวช่วยในเกมเมื่อวันศุกร์ที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา

“ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าตื่นเต้นมากในการทำหน้าที่ เพราะถือเป็นเรื่องใหม่ และยังไม่เคยได้ใช้มาก่อน แม้ว่าจะมีการศึกษาและอบรมการใช้ระบบ VAR มาก่อนแล้วก็ตาม” นี่ คือ คำพูดจากปากของเชิ้ตดำ ที่ได้ใช้งาน VAR เป็นคนแรกของประเทศ – และวันนี้เขาจะมาเป็นผู้ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการใช้งานนวัตกรรมใหม่แห่งวงการลูกหนัง


เหตุการณ์อะไรที่สามารถดูวีดีโอได้?

ง่ายๆ หลักๆ สำหรับการจะเรียกใช้ VAR จะมีขึ้น 4 กรณีด้วยกัน คือ 1.จังหวะการได้ประตู (มีการฟาล์ว หรือล้ำ หน้า), 2. จังหวะจุดโทษ (นอกเขตหรือในเขต ฟาล์วหรือไม่), 3.จังหวะการฟาล์วโดยตรง (สมควรเป็นใบแดงหรือไม่) และ 4.การให้ใบเหลือ-แดง ผิดตัว

“การใช้ VAR จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ผู้ตัดสินเกิดข้อสงสัยในการตัดสิน” เปาโค้ช เริ่มกล่าว ก่อนอธิบายอย่างละเอียดเป็นข้อๆ ดังนี้

1.จังหวะการได้ประตู สำหรับเกมฟุตบอล มันวัดผู้ชนะด้วยจำนวนประตูที่ยิงได้ ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก หากผู้ตัดสินมั่นใจว่าเป็นประตูแน่นอนก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากไม่แน่ใจว่ามีการฟาล์ว หรือ การล้ำหน้า เกิดขึ้นหรือไม่ ก็ต้องเรียกดู VAR แต่หากผู้ตัดสินมั่นใจก็ไม่จำเป็นต้องเรียกใช้

2.จังหวะจุดโทษ การเป่าจุดโทษเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในเกมฟุตบอลที่มักชี้วัดผลแพ้ชนะได้เลย ก็เลยทำให้ที่ผ่านมาผู้ตัดสินส่วนใหญ่มักมีความลังเลในการตัดสินใจว่าจะเปาให้จุดโทษหรือไม่ ที่ผ่านมา หากไม่ชัดเจนจริงก็จะไม่เป่า แม้ว่าจังหวะนั้นจะมีการทำฟาล์วก็ตาม ทำให้ทีมที่ทำเกมรุกเสียผลประโยชน์

 

ผู้ตัดสินสามารถเรียกใช้ VAR ประกอบการตัดสินใจได้ทันทีหากไม่มั่นใจว่าลูกนั้นเป็นจุดโทษหรือไม่ ในทางกลับกัน หากจังหวะที่ผู้ตัดสินเป่าให้ฟาว์ลไปแล้ว แต่เมื่อดู VAR แล้วปรากฎว่า จังหวะดังกล่าวไม่ฟาว์ล และเห็นว่าผู้เล่นเกมรุกแสดงเจตนาพุ่งล้ม ก็สามารถกลับคำตัดสิน และให้ใบเหลืองกับผู้เล่นที่พุ่งล้มได้

3.จังหวะการฟาล์วโดยตรง ข้อนี้ก็ได้เห็นกันไปแล้ว ในเกมระหว่างเชียงรายกับบุรีรัมย์ ที่ผ่านมา ผู้ตัดสินสามารถเรียกดู VAR ได้หากมีข้อสงสัยจากจังหวะเล่นรุนแรงของผู้เล่นในสนาม ซึ่งเหตุการณ์วันนั้นผมก็เห็นแล้วว่า ดิโอโก้ มีการใช้ท่อนแขนไปงัดเข้าใส่ผู้เล่นเชียงราย แต่เพื่อความมั่นใจในการตัดสิน จึงขอดูภาพจากกล้องข้างสนาม ก็ทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น

ประโยชน์อีกเรื่องที่ได้จากข้อนี้ก็คือ จังหวะปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในเกมการแข่งขัน เช่น จังหวะนอกเกม ที่บางครั้งผู้ตัดสินไม่เห็น แต่ผู้ช่วยผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่ VAR ส่งสัญญาณมา เราก็สามารถเรียกดูเพื่อพิจารณาได้ในขณะนั้นทันที

หรือล่าสุดในฟุตบอลนักเรียนที่มีเหตุการณ์ตะลุมบอลเกิดขึ้น หากมี VAR ก็จะช่วยได้เป็นอย่างดี ในจังหวะที่มีการทำร้ายร่างกายกันของนักเตะ ยิ่งหากเหตุการณ์ความวุ่นวายมีระยะเวลานาน ผู้ตัดสินอาจจะจำเหตุการณ์ได้ไม่ทั้งหมด ก็มีภาพย้อนหลังให้ช่วยตัดสินได้

4.การให้ใบเหลือง-แดง ตัวผมมีประสบการณ์โดยตรง จากเกมไทยลีกในฤดูกาลที่แล้ว จังหวะนั้นผมไม่มั่นใจว่าใครเป็นคู่กรณีที่มีเรื่อง ผมจึงวิ่งไปสอบถามผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 4 ทุกคนก็มองเป็นคนเดียวกัน และผมก็แจกใบแดง สุดท้ายพอมาดูจากภาพช้าหลังเกม สรุปว่าให้ผิดคนจริงๆ หากมีเทคโนโลยี VAR ก็คงไม่เกิดเรื่องดังกล่าวแน่นอน”


ใครที่มีสิทธิ์ขอดูวีดีโอ?

สำหรับผู้ที่จะมีสิทธิ์ขอดูวีอีโอ ก็คือ ผู้ตัดสินที่ 1 และเจ้าหน้าที่ VAR ที่ทำหน้าที่อยู่ในห้องควบคุมเท่านั้น

“ณ ตอนนี้ยังไม่มีกฎระเบียบออกมาสำหรับการขอใช้ VAR อย่างสมบูรณ์แบบ แต่จากการเวิร์กช็อป (Workshop) ของฟีฟ่าที่ผ่านมา ผู้ที่มีอำนาจในการขอดูวีดีโอก็คือผู้ตัดสินในสนาม จะสามารถเรียกใช้ได้ทุกเมื่อที่มีข้อสงสัยจากการทำหน้าที่ของตนเอง นอกจากนี้จะมีเจ้าหน้าที่เทคนิคที่ควบคุมระบบ VAR จะช่วยเหลือผู้ตัดสินเพิ่มเติม ในจังหวะที่เกิดข้อสงสัยในการตัดสินก็จะส่งสัญญาณมาที่สนามเพื่อให้ผู้ตัดสินดูภาพวีดีโอ เพื่อพิจารณาการตัดสินอีกครั้งหนึ่ง

ในกรณีที่มีการส่งสัญญาณมาจากห้องควบคุม ผู้ตัดสินในสนามสามารถปฎิเสธการดู VAR ได้ หากมั่นใจว่าการตัดสินของตนเองนั้นถูกต้องแล้ว”


บุคคลอื่นสามารถร้องขอให้ผู้ตัดสินดูวีดีโอ ได้หรือไม่?

“มีเพียงผู้ตัดสินและ เจ้าหน้าที่เทคนิคจากห้องควบคุม VAR เท่านั้นที่จะสามารถร้องขอให้มีการใช้ VAR ได้ นอกนั้นไม่มีสิทธิ์ ซึ่งตรงนี้มีบทลงโทษด้วย

 

แม้ว่าจะไม่มีระบบในกติกาฟุตบอล แต่ฟีฟ่าได้ให้อำนาจกับผู้ตัดสินในการลงโทษผู้ที่เรียกร้องให้มีการใช้ VAR ผู้ตัดสินสามารถให้ใบเหลืองแก่นักเตะหรือบุคคลใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน ที่มาขอให้มีการใช้ VAR หรือแม้แต่การแสดงสัญลักษณ์ขอใช้ VAR ซึ่งในเกมออมสิน แชมเปียนคัพ ที่ผ่านมา ผมได้ชี้แจงให้กับทั้งสองทีมในการประชุมผู้จัดการทีมไปแล้ว โดยแฟนบอลยังไม่ค่อยรู้เรื่องนี้กันสักเท่าไหร่”


ภาพที่ผู้ตัดสินเห็นเมื่อใช้ VAR?

“แฟนบอลหลายคนสงสัยว่าภาพที่ผู้ตัดสินเห็นเวลาใช้งานระบบ VAR เป็นเช่นไร ภาพที่ผู้ตัดสินเห็นก็เหมือนกับภาพการถ่ายทอดสด แต่เจ้าหน้าที่เทคนิคจากห้องควบคุม ก็จะคัดภาพช้าเฉพาะมุมที่ผู้ตัดสินจะเห็นจังหวะนั้นได้อย่างชัดเจน”

“ขอเพิ่มเติมเรื่องการใช้ VAR อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือระยะเวลาในการดูภาพจากกล้อง แม้ว่าจะไม่มีกำหนดระยะเวลาแต่ทาง ฟีฟ่า ค่อนข้างเน้นย้ำเรื่องระยะเวลาให้มีการใช้ VAR ให้น้อยที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าให้รีบดูเกินไป จนขาดการพิจารณาที่ถี่ถ้วน ในความคิดส่วนตัวของผม ผู้ตัดสินคงใช้เวลาไม่มากในการดู เว้นแต่บางกรณีที่สำคัญจริงๆเท่านั้น”

ฟุตบอลไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก VAR?

“ประโยชน์ที่จะได้รับก็คือ ความผิดพลาดของการตัดสินที่เกิดขึ้นจะลดน้อยลง บางทีอาจจะกลายเป็นศูนย์เลยก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเกมบางเกมอาจจะไม่ต้องใช้มันเลย หากผู้ตัดสินทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว แต่ความผิดพลาดในเกมฟุตบอลมันเกิดขึ้นได้เสมอ”


Cr. Thaileague.co.th